วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เรียนวันอังคารที่ 29 กรกฎาคม 2551

Certificate
ประกาศนียบัตรในผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นเสมือนสิ่งที่รับรองบุคคลว่า บุคคลที่ได้รับประกาศนียบัตรนั้นมีความรู้ความชำนาญในเรื่องของผลิตภัณฑ์นั้น สามารถที่จะทำงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายบริษัทและองค์กรต่างมีการออกประกาศนียบัตรเพื่อรับรองถึงคุณภาพของบุคลากรที่ได้รับประกาศนียบัตรของตน ซึ่งต้องมีการทดสอบในเรื่องความรู้และความชำนาญในผลิตภัณฑ์ของตน บทความนี้เป็นการบอกเล่าถึงประกาศนียบัตรประเภทต่างๆ ของแต่ละบริษัท เช่น ไมโครซอฟท์ ซิสโก้ ซัน และโนเวล นอกจากนี้ในตอนท้ายมีขั้นตอนในการเตรียมพร้อมเพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการสอบใบประกาศนียบัตร
หากกล่าวถึงเรื่องของประกาศนียบัตร (Certificate) หรือใบรับรองความสามารถนั้น นับได้ว่าเป็นสิ่งที่รับรองถึงความรู้ความสามารถของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีจนถึงขั้นที่ว่าเป็นมาตรฐานเลยทีเดียว ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ด้านคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ผลิต และองค์กรบางองค์กรได้ออกประกาศนียบัตรเพื่อรับรองถึงคุณภาพของบุคลากรที่ได้รับประกาศนียบัตรของตน เทคโนโลยีในด้านต่างๆ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์นั้นมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา บริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ภายในองค์กรนั้น ย่อมต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ในด้านของเทคโนโลยีดังกล่าว เมื่อความรู้และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง บุคลากรเหล่านั้ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จึงเป็นธรรมดาที่ต้องพัฒนายกระดับความรู้ความสามารถของตนเองให้สามารถทำงานกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงให้ได้ การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรทำได้หลายทาง ยกตัวอย่าง เช่น การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง การสอบถามจากบุคคลอื่นที่มีความรู้และความชำนาญมากกว่า และการเข้ารับการอบรม เป็นต้น การสอบเพื่อให้ได้ใบประกาศนียบัตรเป็นหนึ่งในแนวทางการยกระดับความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร รวมถึงองค์กรตลอดจนถึงระดับประเทศด้วย ปัจจุบัน เจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้นมีการจัดสอบเพื่อวัดระดับความรู้ของบุคคลมีต่อผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อที่จะสามารถประเมินได้อย่างคร่าวๆ ว่าบุคคลนั้นมีความรู้ความชำนาญในเรื่องของผลิตภัณฑ์มากน้อยเพียงไร บริษัทผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อันเป็นที่นิยมอาทิเช่น ไมโครซอฟท์ ซัน ไมโครซิสเต็ม ซิสโก้ซิสเต็ม ออราเคิล และโนเวล ซึ่งประกาศนียบัตรของแต่ละผลิตภัณฑ์มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป เรามาลองพิจารณารายละเอียดประกาศนียบัตรต่างๆ ของผู้ผลิตซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นกัน

1. Cisco Certified Network Associate (CCNA)
เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องของระบบเครือข่าย สามารถติดตั้งและดูแลจัดการระบบเครือข่ายขนาดเล็กได้ CCNA นี้ไม่มีวิชาบังคับที่ต้องได้รับมาก่อน (Exam Prerequisite) เมื่อสอบผ่านวิชาใดวิชาหนึ่ง ก็สามารถได้รับประกาศนียบัตรนี้ ค่าใช้จ่ายในการสอบ 8, 000บาท

2. Cisco Certified Network Professional (CCNP)
เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้เป็นอย่างดีในเรื่องของระบบเครือข่าย สามารถติดตั้งและดูแลจัดการระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ การที่จะสามารถสอบ CCNP ได้ต้องสอบผ่าน CCNA มาก่อน ค่าใช้จ่ายในการสอบ 36,000บาท

3.Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE)
เป็นประกาศนียบัตรขั้นสูงสุดในส่วนของ Network Installation and Support Certification และ Communication and Services Certificationฺค่าใช้จ่าบในการสอบ 140,000บาท

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เรียนวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2551

การต่อสาย LAN
การทำสายสัญญาณ เพื่อใช้เองในบ้านหรือในสำนักงานขนาดเล็กก็ได้ วิธีการก็ไม่มีอะไรมากอย่างแรกเลยก็จัดเตรียมเรื่องของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ให้ครบถ้วนก่อนจะได้ไม่ต้องวิ่งหาตอนติดตั้ง โดยอุปกรณ์โดยทั่วไปก็มี สายสัญญาณหรือ UTP Cable หรือที่บ้านเราเรียกกันว่าสาย LAN แล้วก็หัว RJ-45 (Male), Modular Plug boots หรือตัวครอบสาย หากว่ามี Wry Marker แล้วก็จะมีเหมือนกันเพราะว่าจะช่วยในการทำให้เราจำสายสัญาณได้ว่าปลายด้านไหนเป็นด้านไหน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วก็จะเป็นหมายเลข ไว้ใส่ในส่วนปลายทั้งสองด้านเพื่อให้ง่ายในการตรวจสอบระบบสายสัญญาณ คีมแค้มสายสัญญาณ หรือ Crimping Tool, มีดปอกสาย หรือ Cutter
เอาละมาว่ากันเลยดีกว่าก่อนอื่นก็หยิบมีดหรือ Cutter อันเล็ก ๆ มาอันหนึ่งแล้วก็เล็งไปที่นิ้วจากนั้นก็ตัดนิ้วทิ้งไปซะ แล้วค่อยเอาหัว RJ มาต่อกับนิ้วแทน เท่านี้คุณก็สามารถเชื่อมต่อตัวคุณเองเข้าสู่ระบบเครือข่ายด้วยความไวสูงสุดถึง 100 มิลลิลิตรต่อนาที บางทีอาจจะเป็น Full Duplex Mode อีกต่างหาก ล้อเล่น ๆ เอาละนะใช้มีดปอกสายสัญญาณที่เป็นฉนวนหุ้มด้านนอกออกให้เหลือแต่ สายบิดเกลียวที่อยู่ด้านใน 8 เส้นแล้วก็จะเห็นด้ายสีขาว ๆ อยู่ให้ตัดทิ้งได้ โดยการปอกสายสัญญาณนั้นให้ปอกออกไว้ยาว ๆ หน่อยก็ได้ประมาณสัก 1 เซ็นครึ่งก็น่าจะได้นะตามตัวอย่างดังรูปข้างล่างนี้
จากนั้นก็ให้ใส่ Modular Plug boots เข้ากับสาย UTP ด้านที่กำลังจะต่อกับหัว RJ-45








การ Cross สาย Lan
ของฝากวันนี้บอกเล่าเรื่องเกี่ยวกับระบบสายสัญญาณให้ฟังแล้วกันนะ หลายๆ คนคงเคยทำระบบเครือข่ายมาบ้าง และคงสงสัยอยู่ว่าบางครั้งเขาใช้สายธรรมดา บางครั้งใช้สาย Cross บ้าง แล้วสองสายนี้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ลองมาดูลักษณะการเชื่อมต่อภายในของสาย UTP 8 เส้นที่ว่าก่อนดีกว่าว่าเป็นยังไงบ้าง
ดูรูปเลยแล้วกัน ถ้าเป็นการเข้าสายแบบธรรมดาหรือที่เขาใช้กันทั่วไป จะเป็นการต่อแบบที่ 1 ไป และ 2 ไป 2 จนถึง 8 ส่วนการไล่สีก็จะมีเป็นมาตรฐานกลาง ๆ ในการ ใช้ดังที่แสดงอยู่นั่นแหละ อันนี้เขาจะใช้เชื่อมต่อระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์มาที่ HUB หรือ Switching
ส่วนข้างล่างนี้เป็นการเข้าสายที่เราเรียกว่า Cross Cable นั่นเอง สังเกตว่าจะเป็นการสลับระหว่าง 1,2,3,6 ซึ่งเขา มักจะใช้ในกรณีของเชื่อมต่อระหว่าง HUB-to-HUB โดยที่ไม่ผ่านทาง Uplink Port คือ ต่อจาก Port ธรรมดาไป Port ธรรมดา เขาต้องใช้สาย Cross และเราสามารถนำมาดัดแปลง ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องที่ต้องการต่อเป็น เครือข่ายโดยผ่านทางสาย UTP ได้โดยการใส่ LAN Card ลงที่เครื่องทั้งสองแล้วใช้สาย Cross ในการเชื่อมต่อเครื่อง ทั้งสองให้เป็นระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องใช้ HUB ก็ได้
ส่วนสายอีก 4 เส้นที่เหลือคือ 4,5,7,8 ก็ไม่ต้องไปสลับอะไรกับมันก็ได้ เพราะว่าไม่ได้ใช้ในการส่งสัญญาณนะจ๊ะ..
รูปแสดงคีมหรือ Crimping Tool ที่จะใช้ในการแค้มหัว อันนี้เป็นของยี่ห้อ Amp ราคาในตลาดก็คงประมาณ 5,000-6,000 บาทมั้งแต่ถ้าไม่ได้ใช้เยอะก็แนะนำให้เดินซื้อแถวพันทิพย์ หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทุกมุมในปัจจุบันนี้ ถ้าเอาแบบพอใช้ได้ราคาก็ประมาณ 400-800 บาท คุณภาพก็พอใช้ได้นะ ผมก็เคยซื้อมาใช้หลายอันแล้ว แต่ของ Amp นี้ค่อนข้างน่าใช้และชัวร์กว่าเยอะในการเข้าสาย แต่ราคานี่สิผมว่ามันไม่ค่อยจะน่าสนเท่าไหร่ ถ้าเราไม่มีอาชีพในการทำงานด้านนี้เฉพาะหรือ ต้องมีการเดินระบบสายสัญญาณบ่อย ๆ
รูปของคีมหรือ Crimping Tool ด้านหน้าที่จะใช้แค้มสาย
หลังจากที่ปอกสายเสร็จแล้วก็ให้ทำการแยกสายทั้ง 4 คู่ที่บิดกันอยู่ออกเป็นคู่ ๆ ก่อนโดยที่ให้แยกคู่ต่าง ๆ ตามลำดับต่อไปนี้ ส้ม-ขาวส้ม ---> เขียว-ขาวเขียว ---> น้ำเงิน-ขาวน้ำเงิน ---> น้ำตาล-ขาวน้ำตาล เพื่อแบ่งสายออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ๆ ก่อน จากนั้นจึงค่อยมาทำการแยกแต่ละคู่ออกมาเป็นเส้น โดยให้ไล่สีดังนี้
ขาวส้ม ---> ส้ม ---> ขาวเขียว ---> น้ำเงิน ---> ขาวน้ำเงิน ---> เขียว ---> ขาวน้ำตาล ---> น้ำตาล
ซึ่งสีที่ไล่นี้เป็นสีที่ใช้เป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อ ซึ่งจริง ๆ แล้วการเข้าสายมีมาตรฐานการไล่สีอยู่หลัก ๆ ก็ 2 แบบแต่ในที่นี้ผมเอาแบบนี้แล้วกันเพราะว่าส่วนมากแล้วเขาจะใช้วิธีการไล่สีแบบนี้ หลังจากจัดเรียงสีต่าง ๆ ได้แล้วก็ให้จัดสายให้เป็นระเบียบ ให้พยายามจัดให้สายแต่ละเส้นชิด ๆ กัน ดังรูป
หลังจากนั้นให้ใช้คีมตัดสายสัญญาณที่เรียงกันอยู่นี้ให้มีระบบปลายสายที่เท่ากันทุกเส้น โดยให้เหลือปลายสายยาวออกมาพอสมควร จากนั้นก็ให้เสียบเข้าไปในหัว RJ-45 ที่เตรียมมา โดยให้หันหัว RJ-45 ดังรูปจากนั้นค่อย ๆ ยัดสายที่ตัดแล้วเข้าไป โดยพยายามยัดปลายของสาย UTP เข้าไปให้สุดจนชนปลายของช่องว่าในหัว RJ-45 เลย
จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเชื่อมต่อสายสัญญาณในช่วงนี้ก็คือต้องยัดฉนวนหุ้มที่หุ้มสาย UTP นี้เข้าไปในหัว RJ-45 ด้วย โดยพยายามยัดเข้าไปให้ได้ลึกที่สุดแล้วกัน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการหักงอของสายง่าย โดยให้ยัดเข้าไปให้ได้ดังรูปข้างล่างนี้
แล้วก็นำเข้าไปใส่ในช่องที่เป็นช่องแค้มหัวของ RJ-45 ในคีมที่จะใช้แค้มหัว หรือ Crimping Tool ให้ลงล็อกของคีมพอดี จากนั้นก็ให้ทำการกดย้ำสายให้แน่น เพื่อให้ Pin ทีอยู่ในหัว RJ-45 นั้นสัมผัสกับสายทองแดงที่ใส่เข้าไป บรรจงนิดหนึ่งนะครับในช่วงนี้ เพราะว่าเป็นช่วงหัวเลียวหัวต่อของชีวิตสายสัญญาณของคุณเลยแหละ เท่าที่ประสบการในการเข้าสายสัญญาณของผม ถ้าเป็นไอ้เจ้า Amp นี่ก็ไม่ต้องออกแรงมากเท่าไหร่ก็ OK ได้เลย แต่ถ้าเป็นแบบของทั่ว ๆ ไปก็คงต้องออกแรงกดกันนิดหนึ่งแล้วกัน
อ้า...ท้ายที่สุดก็จะได้ปลายสัญญาณของระบบที่คุณต้องการดังกล่าวดังรูป ที่นี้ก็ไปทำอย่างที่ว่ามานี้อีกครั้งหนึ่งที่ปลายสายอีกด้านหนึ่ง แต่อย่าหลงเข้าใจผิดว่านี่เป็นสาย Cross นะ เพราะว่าสาย Cross นั้นคุณต้องทำการสลับสายสัญญาณที่เข้านี้ ลองไปดูหัวข้อ Tip of the Day นะผมแนะนำการเข้าสาย Cross ไว้ที่นั่นแล้ว เพราะว่าการเข้าสายทั้งสองแบบนี้การไล่สีของสายไม่เหมือนกัน แตกต่างกันนิดหน่อย ส่วนสาย Cross เราสามารถนำเอาไปเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องให้เป็นระบบเครือข่ายได้โดยที่ไม่ต้องใช้ HUB ได้เลย แต่ได้แค่ 2 เครื่องเท่านั้น ส่วนสายแบบที่ต่อตรง ๆ นั้นจะใช้เชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์มายัง HUB

มาตรฐานการเข้า RJ-45


Pin# Signal EIA/TIA 568A EIA/TIA 568B1
1 Transmit+ ขาวเขียว ขาวส้ม
2 Transmit+ เขียว ส้ม
3 Receive+ ขาวส้ม ขาวเขียว
4 N/A น้ำเงิน น้ำเงิน
5 N/A ขาวน้ำเงิน ขาวน้ำเงิน
6 Receive- ส้ม เขียว
7 N/A ขาวน้ำตาล ขาวน้ำตาล
8 N/A น้ำตาล น้ำตาล